หอการค้าไทย ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ฉลองความสำเร็จในการดำเนินโครงการส่งต่ออาหารส่วนเกินที่มีความปลอดภัย จำนวน 5 ล้านมื้อ จากภาคการผลิตสู่ผู้ขาดแคลนทั่วประเทศภายในปี 2567 ขยายต่อภายในปี 2568-2569 บรรลุเป้าหมาย 9 ล้านมื้อ วันที่ 8 ตุลาคม 2567 นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภายหลังการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งมอบอาหารส่วนเกินที่มีความปลอดภัยจากผู้ประกอบการอาหารสู่ผู้ขาดแคลนอาหาร ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ในปี 2565 เพื่อร่วมกันคัดสรรอาหารที่มีความปลอดภัยส่งมอบให้กับชุมชนที่ขาดแคลนอาหารทั่วประเทศ… อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/economy/news-1670043 ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้เปราะบางในสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาที่สืบเนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนของระบบอาหาร ทั้งนี้ หอการค้าไทยและสมาชิกเครือข่าย อาทิ บริษัท เอสแอนด์พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน), บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด, บริษัท เบทาโกร […]
Author Archives: patcharaproduct
โรงงานแปรรูปอาหารทะเลมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะในประเทศที่มีทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ การแปรรูปอาหารทะเลไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบที่ได้จากทะเล แต่ยังช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น การจ้างงาน และส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้ เราจะพูดถึงประโยชน์หลักของโรงงานแปรรูปอาหารทะเลและวิธีการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงาน ประโยชน์ของโรงงานแปรรูปอาหารทะเล การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบ วัตถุดิบจากทะเล เช่น ปลา กุ้ง ปู และปลาหมึก สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ เช่น อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารกระป๋อง และผลิตภัณฑ์พร้อมรับประทาน การแปรรูปเหล่านี้ไม่เพียงเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับวัตถุดิบแต่ละชนิด แต่ยังช่วยยืดอายุการเก็บรักษาและทำให้สามารถขนส่งและส่งออกไปยังต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น การสร้างงานในท้องถิ่น โรงงานแปรรูปอาหารทะเลมักตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ การดำเนินงานของโรงงานจึงช่วยสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่น ทั้งในด้านการจับสัตว์น้ำ การแปรรูป การขนส่ง และการจำหน่าย ส่งผลให้มีการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนและเศรษฐกิจในพื้นที่ การสนับสนุนการส่งออกและเศรษฐกิจของประเทศ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในหลายประเทศ โรงงานแปรรูปที่มีประสิทธิภาพสามารถผลิตสินค้าที่ตรงตามมาตรฐานคุณภาพของตลาดโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น การส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศ แต่ยังช่วยเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาว การลดความสูญเสียของวัตถุดิบ การแปรรูปอาหารทะเลช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบที่อาจเกิดจากการเน่าเสีย เนื่องจากการแปรรูปทำให้วัตถุดิบสามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น โดยการแช่แข็งหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น อาหารแปรรูปบรรจุกระป๋องหรืออบแห้ง วิธีการปรับปรุงโรงงานแปรรูปอาหารทะเลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติในการผลิต การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น การทำความสะอาด แยกส่วน การบรรจุ และการตรวจสอบคุณภาพ จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วและลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้แรงงานคน […]
อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ พร้อมจัดงาน ProPak Asia 2024 งานแสดงเทคโนโลยีกระบวนการผลิต แปรรูปและบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย เชิญผู้สนใจในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มร่วมงาน วันที่ 12-15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผสานความร่วมมือองค์กรธุรกิจ พร้อมบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์จากทั่วโลก เชิญผู้ประกอบและผู้สนใจในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ร่วมงาน ProPak Asia 2024 งานแสดงเทคโนโลยีกระบวนการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย โดยแนวคิดในการจัดงานฯ ในปีนี้ คือ “Empowering Sustainability Processing & Packaging Success with Ideation, Innovation and Investment” หรือ ยกระดับความสำเร็จในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนด้วย แนวคิด นวัตกรรมและการลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ ร่วมรับรู้แนวโน้มธุรกิจและทิศทางอุตสาหกรรม อัพเดทนวัตกรรมและเทคโนโลยีล่าสุด พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้เชียวชาญและบริษัทชั้นนำของโลก ซึ่งงาน ProPak Asia 2024 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 […]
กระทรวงสาธารณสุขของเวียดนาม (MOH) ได้ออกประกาศ Circular 17/2023 ว่าด้วยการแก้ไขกฎระเบียบเกี่ยวกับวัตถุเจือปนอาหาร (food additives) สารแต่งกลิ่นรส (flavors) และสารที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร (processing aids) ซึ่งมีผลใช้บังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา โดยเป็นการปรับปรุงรายการวัตถุเจือปนอาหารและปริมาณการใช้งานสูงสุด (MLs) ตามรายการปรับปรุงล่าสุดของ CODEX STAN 192-1995 รวมถึงอนุญาตให้ใช้สารแต่งกลิ่นรส นอกจากนี้ยังปรับปรุงรายการสารที่อนุญาตให้ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารด้วย รายการปรับปรุงที่น่าสนใจ มีดังนี้: 1. ปรับปรุงรายการวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้และปริมาณการใช้งานสูงสุด (MLs) ปรับปรุง Appendix 2A (The List of Food Additives Permitted for Use in Certain Food Categories with the MLs adopted by Codex STAN 192-1995) และ […]
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงสาธารณสุขแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ส่งหนังสือเวียนฉบับที่ 29/2023 เรื่อง ข้อกำหนดการแสดงฉลากโภชนาการสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายภายในประเทศ จึงครอบคลุมอาหารทั้งที่ผลิตภายในประเทศ และอาหารนำเข้า ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวเป็นผลจากที่เวียดนามเคยเสนอร่างข้อกำหนดการแสดงฉลากโภชนาการสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ไปเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 โดยมีสาระสำคัญของหนังสือเวียนฉบับที่ 29/2023 ดังนี้ ต้องแสดงปริมาณพลังงาน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโซเดียมด้วยหน่วยที่กำหนด สำหรับเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม ตลอดจนอาหารอื่นที่มีการเติมน้ำตาล ต้องระบุปริมาณน้ำตาลที่เติมด้วย สำหรับอาหารที่ผ่านการแปรรูปด้วยการทอด ต้องระบุปริมาณไขมันอิ่มตัวเพิ่มเติม ผลิตภัณฑ์อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิทต้องแสดงฉลากข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีข้อยกเว้นตามเกณฑ์ที่ระบุในภาคผนวก 1 ท้ายแนวปฏิบัติดังกล่าว กำหนดปริมาณสารอาหารอ้างอิง (Reference Values for Nutritional Ingredients) ระบุในภาคผนวก 2 ท้ายแนวปฏิบัติดังกล่าว ข้อกำหนดดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม พ.ศ. 2569 และอนุโลมสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิทที่วางจำหน่ายก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2569 จนถึงวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ […]
- 1
- 2