การเข้าถึงอาหารเป็นสิทธิมนุษยชน

กษัตริย์เลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท ซึ่งทรงเป็นทูตสันถวไมตรีขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ขึ้นเวทีในพิธีเปิด World Food Day ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยทรงแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของสิทธิสากลในการเข้าถึงอาหารที่หลากหลาย ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ

กษัตริย์เลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท กล่าวว่าอาหารเป็นสิทธิเป็นพันธสัญญา แต่เราต้องเผชิญหน้ากับความจริงอันโหดร้าย โดยสถิติในปี 2023 ประชากร 1 ใน 11 คน และ 1 ใน 5 คนในแอฟริกาเผชิญกับความหิวโหย

“ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความหิวโหยเท่านั้น แต่สิทธิในการเข้าถึงอาหารครอบคลุมถึงการรับรองว่าทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้ น่าเสียดายที่ประชากรโลกกว่า 1 ใน 3 ไม่สามารถหาอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพได้ จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อหลีกเลี่ยงผลที่ตามมาอันเลวร้าย เช่น เด็กๆ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ และผู้คนไม่สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ เพราะโภชนาการเป็นรากฐานที่เราใช้สร้างอนาคตที่รุ่งเรือง”

ไม่มีความมั่นคงทางอาหารหากปราศจากสันติภาพ

นายฉู่ ตงหยู ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้กล่าวในพิธีเปิดงานว่า วันอาหารโลกเป็นวันสำคัญ และในปี 2024 ก็ตรงกับวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 79 ปี ของการก่อตั้งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

“เราควรความและกระตุ้นความร่วมมือใหม่อีกครั้ง ในการสร้างระบบเกษตรอาหารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น ยืดหยุ่นมากขึ้น และยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งสามารถหล่อเลี้ยงโลกได้”

นายตงหยู กล่าวด้วยว่า ความมั่นคงทางอาหาร เกี่ยวข้องกับความพร้อมของอาหาร การเข้าถึงอาหาร และความสามารถในการซื้ออาหาร ในขณะที่สถานที่ต่างๆ ทั่วโลกยังมีความขัดแย้ง แต่จะไม่มีความมั่นคงทางอาหารหากปราศจากสันติภาพ

“สันติภาพเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นสำหรับความมั่นคงทางอาหาร และสิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เราไม่สามารถสร้างชุมชนที่สงบสุขได้หากไม่แก้ไขปัญหาความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการ”

16 ต.ค. World Food Day ประชากร 733 ล้านคนทั่วโลกหิวโหย ราคาอาหารสูงขึ้นไม่หยุด

ปี 2024 วิกฤติอาหารที่เพิ่มมากขึ้น

ปี 2024 มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากในความไม่มั่นคงทางอาหารทั่วโลก มีผู้คนหลายล้านคนที่เผชิญกับความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการ จากรายงาน Global Report on Food Crises (GRFC) 2024 มีสถิติที่น่าสนใจ ดังนี้

  • ประชากร 282 ล้านคน ใน 59 ประเทศ/เขตการปกครองที่เผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหารขั้นรุนแรง ต้องการความช่วยเหลือด้านอาหารและวิถีชีวิตอย่างเร่งด่วน คิดเป็น 21.5% ของประชากรในประเทศ/เขตการปกครองเหล่านี้
  • นับตั้งแต่ปี 2022 จำนวนผู้ที่เผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหารขั้นรุนแรงเพิ่มขึ้น และต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพิ่มขึ้น 24 ล้านคน
  • วิกฤตอาหารส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบางอย่างมาก โดยเฉพาะเด็ก ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ ภาวะทุพโภชนาการและความหิวโหยทำให้อัตราการเตี้ย, ผอมแห้ง และภาวะทุพโภชนาการเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว

เปิดดัชนีความหิวโหย GHI 2024

Global Hunger Index หรือ GHI เป็นเครื่องมือที่หน่วยงานด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศใช้ในการวัดและติดตามระดับความหิวโหยโดยใช้คะแนน GHI ซึ่งอิงตามตัวชี้วัดภาวะโภชนาการไม่เพียงพอ ภาวะเตี้ย ภาวะผอมแห้ง และการเสียชีวิตของเด็กใน 127 ประเทศ

โดย GHI ระบุว่า  ความคืบหน้าในการลดความหิวโหยมีน้อยมากนับตั้งแต่ปี 2016 และโอกาสในการบรรลุเป้าหมายขจัดความหิวโหยให้ได้ภายในปี 2030 นั้นดูริบหรี่ เนื่องจากยังมี 42 ประเทศที่ยังคงประสบปัญหาความหิวโหยในระดับ “ร้ายแรง” (Alarming)

10 ประเทศระดับความหิวโหยสูงสุด 2024

ดัชนี GHI เผยรายชื่อประเทศที่เผชิญกับความท้าทายอย่างรุนแรงในการรักษาความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่เพียงพอให้กับประชากรของตนเอง ดังนี้

  • อันดับ 1 เยเมน คะแนน 50.0 (ระดับความหิวโหย Extremely Alarming)
  • อันดับ 2 โซมาเลีย คะแนน 49.1 (ระดับความหิวโหย Alarming)
  • อันดับ 3 ซูดานใต้ คะแนน 48.6 (ระดับความหิวโหย Alarming)
  • อันดับ 4 ซีเรีย คะแนน 47.8 (ระดับความหิวโหย Alarming)
  • อันดับ 5 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก คะแนน 47.3 (ระดับความหิวโหย Alarming)
  • อันดับ 6 ไนเจอร์ คะแนน 46.8 (ระดับความหิวโหย Alarming)
  • อันดับ 7 โมซัมบิก คะแนน 46.5 (ระดับความหิวโหย Alarming)
  • อันดับ 8 อัฟกานิสถาน คะแนน 46.2 (ระดับความหิวโหย Alarming)
  • อันดับ 9 มาดากัสการ์ คะแนน 45.9 (ระดับความหิวโหย Alarming)
  • อันดับ 10 เอธิโอเปีย คะแนน 45.5 (ระดับความหิวโหย Alarming)

10 ประเทศระดับความหิวโหยต่ำ (Low) 2024

ประเทศเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการลดระดับความหิวโหย แสดงให้เห็นถึงระบบความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่แข็งแกร่ง

  • อันดับ 1 เบลารุส คะแนน <5
  • อันดับ 2 บอสเนีย และเฮอร์เซโกวีนา คะแนน <5
  • อันดับ 3 ชิลี คะแนน <5
  • อันดับ 4 จีน คะแนน <5
  • อันดับ 5 คอสตาริกา คะแนน <5
  • อันดับ 6 โครเอเชีย คะแนน <5
  • อันดับ 7 เอสโตเนีย คะแนน <5
  • อันดับ 8 จอร์เจีย คะแนน <5
  • อันดับ 9 ฮังการี คะแนน <5
  • อันดับ 10 คูเวต คะแนน <5

สถิติความหิวโหยของไทยในปี 2024

จากดัชนีความหิวโหยระดับโลก (GHI) ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 52 จาก 127 ประเทศ โดยมีคะแนน 10.1 ซึ่งบ่งบอกถึงระดับความหิวโหยระดับ “ปานกลาง”

  • การขาดสารอาหาร : ประมาณ 5.6% ของประชากร มีภาวะขาดสารอาหาร
  • ภาวะเตี้ยในเด็ก : ประมาณ 12.4% ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีภาวะเตี้ย
  • ภาวะผอมแห้งของเด็ก : ประมาณ 7.2% ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีภาวะผอมแห้ง
  • อัตราการตายของเด็ก : มีเพียง 0.8% ของเด็ก ที่เสียชีวิตก่อนอายุครบห้าปี

สถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญในการรักษาความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่เพียงพอสำหรับประชาชนทุกคน

แนวโน้มราคาอาหารโลก ปี 2024

  • ดัชนีราคาอาหาร FAO Food Price Index (FFPI) อยู่ที่ 124.4 จุดในเดือนกันยายน 2024 เพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์จากเดือนสิงหาคม ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022
  • FFPI ระบุราคาอาหารเพิ่มขึ้น มีตั้งแต่ 0.4 เปอร์เซ็นต์สำหรับดัชนีราคาเนื้อสัตว์จนถึง 10.4 เปอร์เซ็นต์สำหรับน้ำตาล เมื่อเทียบกับระดับประวัติศาสตร์ ดัชนี FFPI ในเดือนกันยายน 2024 สูงกว่าค่าที่สอดคล้องกันในปีที่แล้ว 2.1 เปอร์เซ็นต์ แต่ต่ำกว่าจุดสูงสุดที่ 160.3 จุดในเดือนมีนาคม 2022 อยู่ 22.4 เปอร์เซ็นต์
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ระบุอาหารทั้งหมดเพิ่มขึ้น 0.1% จากเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2024 และราคาอาหารเพิ่มขึ้น 2.1% จากเดือนสิงหาคม 2023
  • การวิจัยเศรษฐกิจของ USDA คาดการณ์ว่าราคาอาหารจะชะลอตัวลงในปี 2024 โดยเพิ่มขึ้นโดยรวม 1.2% โดยเฉพาะราคาที่บ้านจะลดลง 0.6% ในขณะที่ราคานอกบ้านคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.9%

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาอาหาร

  • ต้นทุนพลังงานและปุ๋ย : ต้นทุนพลังงานและปุ๋ยที่สูงขึ้นกำลังส่งผลต่อค่าผลิตอาหาร
  • การขาดแคลนจากเหตุการณ์สภาพอากาศ : เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วสามารถทำให้ห่วงโซ่อุปทานอาหารหยุดชะงัก นำไปสู่การเพิ่มราคาสินค้า
  • ความเสี่ยงในตลาดโลก : การหยุดชะงักในช่องทางเดินเรือและนโยบายเชื้อเพลิงชีวภาพสามารถส่งผลกระทบต่อราคาอาหารได้

ปัจจัยที่ส่งผลวิกฤติอาหารปี 2024

สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง : เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น ภัยแล้งและน้ำท่วม ทำให้การผลิตการเกษตรได้รับผลกระทบอย่างมาก ทำให้ผลผลิตลดลงและเกิดการขาดแคลนอาหาร

ความขัดแย้งและการย้ายถิ่นฐาน : ความขัดแย้งและความไม่มั่นคงทางการเมืองในหลายพื้นที่ ทำให้ผู้คนนับล้านต้องย้ายถิ่นฐาน ทำให้พวกเขาเข้าถึงอาหารและสิ่งจำเป็นอื่นๆ ได้ยากขึ้น

แรงกระแทกทางเศรษฐกิจ : ราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น, อัตราเงินเฟ้อ และการตกต่ำทางเศรษฐกิจ ทำให้คนโดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง ไม่สามารถซื้ออาหารที่มีโภชนาการได้

การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน : การระบาดของ COVID-19 และความพยายามในการฟื้นตัวได้ทำให้ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกตึงตัว ส่งผลกระทบต่อความพร้อมใช้งานและการกระจายอาหาร